การประชุมกรอบภูมิภาคคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานด้านอุทกวิทยาของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สมัยที่ 30 (The 30th Regional Steering Committee Meeting for Southeast Asia and the Pacific)

การประชุมกรอบภูมิภาคคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานด้านอุทกวิทยาของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สมัยที่ 30 (The 30th Regional Steering Committee Meeting for Southeast Asia and the Pacific)

 

      เมื่อวันที่ 8 - 10 พฤศจิกายน 2566 อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มอบหมายเจ้าหน้าที่ จำนวน 5 ราย ได้แก่ (1) นางสาวรัตนา ธีรฐิติธรรม สำนักสำรวจและประเมินศักยภาพน้ำบาดาล (2) นางสาวรับขัวญ สายสุวรรณ สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 11 (อุบลราชธานี) (3) นางสาวอรวรรณ สามารถ สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 5 (นครราชสีมา) (4) นางสาวธัญญา เพียมูล สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 9 (ระยอง) และ (5) นายธาตรี อินทรสูต กองแผนงาน เข้าร่วมการประชุมกรอบภูมิภาคคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานด้านอุทกวิทยาของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สมัยที่ 30 ณ เมืองปุตราจายา ประเทศมาเลเซีย

 

     การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกรายงานและทบทวนกิจกรรม/โครงการด้านอุทกวิทยาที่ดำเนินการภายในกรอบการทำงานของ UNESCO IHP หารือเกี่ยวกับความท้าทายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในอนาคตที่จะต้องเผชิญ และวางแผนการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประสานงานและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาค โดยผู้แทนกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้นำเสนอโครงการที่ดำเนินการในช่วงปี 2565 - 2566 โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด SDG 6.5.2 “สัดส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำข้ามเขตแดนที่มีการจัดการดำเนินงานเพื่อความร่วมมือด้านน้ำ” ซึ่ง UNESCO-IHP ให้ความสำคัญและมุ่งหวังให้กลไกความร่วมมือนี้ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคสามารถบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดได้ ซึ่งได้แก่ “โครงการ Groundwater Resources in the Greater Mekong Subregion: Collaborative Management to Increase Climate Change Resilience” และ “โครงการ Installation & operation of GW monitoring network in Greater Mekong Subregion: Site selection for Groundwater Dependent Ecosystem (GDE) monitoring well network”

 

     นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการศึกษาดูงานPutrajaya Wetlands ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการก่อสร้างบ่อรับน้ำเพื่อกักเก็บน้ำและชะลอความเร็วให้เกิดการตกตะกอนตามธรรมชาติเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำที่อยู่ท้ายน้ำ รวมทั้ง ศึกษาดูงาน SMART Tunnel อุโมงค์ขนาดใหญ่เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งสองทาง คือทางด่วนและทางระบายน้ำขนาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน และลดการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน